วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ไอโซเมอร์

ไอโซเมอร์




ไอโซเมอร์ (Isomer)คือ สารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างการ เช่น
C4H10CH3CH2CH2CH3
สารที่เป็นไอโซเมอร์กัน ถ้ามีหมู่ฟังก์ชันเหมือน ก็พบว่ามีสมบัติทางกายภาพต่างกัน แต่สมบัติ ทางเคมีเหมือนกัน
สารที่เป็นไอโซเมอร์กัน ถ้ามีหมู่ฟังก์ชันต่างกันอีกจะพบว่ามีสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีต่างกัน
ไอโซเมอร์ของสารอินทรีย์ใด ที่คาร์บอนต่อกันเป็นโซ่สายยาว จะมีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นสูงกว่าไอโซเมอร์ของสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนต่อกันแตกกิ่ง ก้านสาขา เพราะไอโซเมอร์ที่คาร์บอนต่อกันเป็นโซ่สายยาวจะมีขนาดใหญ่ และมีพื้นที่ผิวมากกว่า ทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล คือแรงแวนเดอร์วาลส์สูงกว่าไอโซเมอร์ที่คาร์บอนต่อกันมีกิ่งก้านสาขา เช่น
C4H10CH3CH2CH2CH3bp = -0.5 Cmp = -138.3 Cd = 0.6012 g/cm3
bp = -12 Cmp = -159 Cd = 0.603 g/cm3
https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7103-isomer?fbclid=IwAR3vjmZjICHVsKqWLGNfqS1aj_s67I7z0HmqAP7-BZTIka0kb-yX3I_o4zI
back

สมดุลกรด เบส

สมดุลกรด เบส

อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) หมายถึง สารที่เมื่อละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีไอออนซึ่งอาจจะเป็นไอออนบวก หรือไอออนลบเคลื่อนที่อยู่ในสารละลาย สารละลายอิเล็กโทรไลต์นี้อาจเป็นสารละลายกรด เบส หรือเกลือก็ได้ ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดเกลือ (HCl) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารละลายของเกลือ KNO3เป็นต้น โดยในสารละลายดังกล่าวประกอบด้วยไอออน H+, Cl-, OH-, K+
และ NO3- ตามลำดับ
นอนอิเล็กโทรไลต์ (Non-electrolyte) หมายถึง สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เมื่อละลายน้ำ ทั้งนี้เนื่องจาก สารพวกนอนอิเล็กโทรไลต์ จะไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น น้ำบริสุทธิ์ น้ำตาล แอลกอฮอล์ เป็นต้น ความแตกต่างของสารอิเล็กโทรไลต์และนอน- อิเล็กโทรไลต์ พิจารณาจากสาร 2 ชนิด เมื่อละลายน้ำจะรวมกับน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้


ปิโตเลียม

ปิโตเลียม

Image result for ปิโตรเลี่ยม


คำว่า “ปิโตรเลียม” มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “เพทรา” (Petra) แปลว่า หิน และคำว่า “โอลิอุม” (Oleum) แปลว่า น้ำมัน รวมความแล้ว ปิโตรเลียมจึงหมายถึง น้ำมันที่ได้มาจากหิน โดยไหลซึมออกมาเองในรูปของของเหลวหรือแก๊สเมื่อแรกพบ ในอดีตกาล ชาวจีนได้ค้นพบปิโตรเลียมจากการเจาะบ่อเกลือ และรู้จักใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมเพื่อเป็นเชื้อเพลิง ในการต้มน้ำเกลือให้ระเหยจนได้เกลือสินเธาว์ ชาวอียิปต์โบราณใช้ปิโตรเลียมดองศพก่อนนำไปฝังในสุสาน เพื่อช่วยป้องกันมิให้ศพเน่าเปื่อย ในอาณาจักรเมโสโปเตเมีย มีการนำเอาน้ำมันดิบมาเป็นวัสดุเชื่อมประสานก้อนอิฐเข้าด้วยกันในการก่อสร้างและใช้ปูลาดถนน ในสมัยกรีกและโรมัน ได้มีการใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงสำหรับตะเกียง และเป็นยาขี้ผึ้งสำหรับรักษาโรค ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก อาทิเช่น บริเวณรอบๆ ทะเลสาบแคสเปียน โรมาเนีย พม่า และอินเดีย ได้มีการนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ คือ เป็นเชื้อเพลิง สำหรับจุดให้แสงสว่าง และใช้ในการประกอบอาหาร ใช้เป็นวัสดุหล่อลื่น และใช้เป็นยารักษาโรค

ปฎิกิริยาเคมี

ปฎิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี

บทเรียนที่ 1 ปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมี คือ กระบวนการเปลี่ยนของสารตั้งต้นไปเป็นสารใหม่ โดยปริมาณสารตั้งต้นจะลดลง และปริมาณสารใหม่จะเกิดขึ้น และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป  โดยสามารถเขียนให้เข้าใจง่ายด้วยสมการเคมี
ปฏิกิริยาเคมีจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ปฏิกิริยาเคมีสมบูรณ์ คือ การเกิดสารใหม่ขณะที่สารตั้งต้นตัวใดตัวหนึ่งหมดไปหรือหมดทุกตัว
2. ปฏิกิริยาเคมีไม่สมบูรณ์ คือ การเกิดสารใหม่ขณะที่สารตั้งต้นยังเหลือทุกตัว ไม่มีตัวใดตัวหนึ่งหมดไป
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี
1. ทฤษฎีการชนโมเลกุล (Collision Theory) กล่าวถึง โมเลกุลของสารต้องมีการชนซึ่งกันและกัน ซึ่งการชนกันแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดปฏิกิริยา
2. ทฤษฎีจลน์ของโมเลกุล (Kinetic Theory) กล่าวถึง โมเลกุลต้องมีการเคลื่อนที่ช้าลง ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานจลน์ โดยโมเลกุลต้องมีพลังงานสูงพอจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้

โครงสร้างอะตอม

โครงสร้างอะตอม


โมเลกุลของสารมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและโมเลกุลของก๊าซบางชนิด เช่น ก๊าซไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ก็ประกอบด้วย 2 อะตอม แสดงว่าอะตอมน่าจะมีขนาดเล็กกว่าโมเลกุล การที่จะศึกษาว่าอะตอมมีลักษณะอย่างไร ภายในอะตอมมีอนุภาคใดเป็นองค์ประกอบและอนุภาคเหล่านั้นมีสมบัติเป็นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่ทำได้จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแต่นักวิทยาศาสตร์ก็ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อศึกษาหาคำตอบในเรื่องดังกล่าว ในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาว่านักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการใด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะตอม และจากข้อมูลนั้นใช้อธิบายโครงสร้างอะตอมได้อย่างไร รวมถึงการนำความรู้เรื่องโครงสร้างอะตอมไปใช้อธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นได้

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562